วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ดาวอังคาร

สัญลักษณ์   
       ดาวอังคารเป็นชื่อของเทพเจ้า แห่งสงคราม และการเกษตร มักรู้จักกัน ในนามของ "ดาวแดง" (The Red Planets) ซึ่งมักจะมี นิยายวิทยาศาสตร์มากมาย ที่กล่าวถึงดาวดวงนี้ โดยเฉพาะ เมื่อกล่าวถึง สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ บนดาวอังคาร
     ดาวอังคาร ดาวเคราะห์อันดับที่ 4 ในระบบสุริยะ เมื่อมองด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็นเป็นดวงสีแดง ชาวกรีกและโรมันจะยกให้เป็นเทพแห่งสงคราม ดาวอังคารมีลักษณะหลายอย่างคล้ายโลกมากคือ 1 วันบนดาวอังคารมี 24 ชั่วโมงใกล้เคียงกัน มีแกนเอียงทำมุม 24 องศาใกล้เคียงกับโลก ทำให้มีฤดูกาล 4 ฤดูคล้ายกัน แต่ 1 ปีของ ดาวอังคาร ยาวนานกว่าโลกเกือบสองเท่า จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ สนใจดาวอังคารเป็นพิเศษ และเชื่อว่าต้องมี สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่

ข้อมูลจำเพาะของดาวอังคาร
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์โดยเฉลี่ย 227.94 ล้านกิโลเมตร(1.524 a.u.)
ใกล้สุด 206.7 ล้านกิโลเมตร (1.381 a.u.)
ไกลสุด 249.1 ล้านกิโลเมตร (1.666 a.u.)
Eccentricity0.093
คาบการหมุนรอบตัวเอง24 ชั่วโมง 37 นาที 22.6 วินาที
คาบการหมุนรอบดวงอาทิตย์686.980 วันบนโลก ด้วยความเร็ว 24.10 กิโลเมตรต่อวินาที
ระนาบโคจร (Inclination)1:50:59 องศา
แกนเอียงกับระนาบโคจร23:59 องศา
มวล6.421x1026 กรัม หรือ 0.107 เท่าของโลก
เส้นผ่านศูนย์กลาง6,794 กิโลเมตร (โลก 12,756 กิโลเมตร ที่เส้นศูนย์สูตร)
แรงโน้มถ่วง0.380 เท่าของโลก
ความเร็วหลุดพ้น5.03 กิโลเมตรต่อวินาที
ความหนาแน่น1 ต่อ 3.94 เมื่อเทียบกับน้ำ
ความสว่างสูงสุด-2.8

โครงสร้างของดาวอังคาร
     
      เปลือกชั้นนอกของดาวอังคารเป็นชั้นของหิน มีสีแดงเพราะเป็นออกไซด์ของเหล็ก (สนิมเหล็ก) พื้นผิวเป็นที่ราบส่วนใหญ่ มีก้อนหินเล็กกระจัดกระจ่ายไปทั่ว ชั้นกลางจะเป็นชั้นของหินซิลิเกต แกนกลางเป็นโลหะแข็ง

               
ภูเขาไฟโอลิมปัส (Olympus) เป็นภูเขาไฟที่สูงที่สุดในระบบสุริยะ มีความสูง 25 กิโลเมตรสูงเป็น สามเท่าของ ยอดเขาเอเวอร์เรสบนโลก รอบฐานกว้าง 600 กิโลเมตร
ร่องรอยบนที่ราบของดาวอังคารลักษณะคล้ายกับว่าเคยมีน้ำในอดีต
ที่ขั้วเหนือและใต้ของดาวอังคารจะปรากฏเป็นขั้วน้ำแข็งของคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งจะขยายตัวมากขึ้นเมื่อดาวอังคารหันขั้นนั้นออกจากดวงอาทิตย์
ปริศนารูปหน้าคนที่ยานอวกาศไวกิ้งถ่ายภาพไว้ได้
หุบเหวมาริเนอร์ เป็นหุบเหวขนาดใหญ่กว้างขนาดเท่ากับความกว้างของทวีปอเมริกาเหนือ กว้างราว 4,700 กิโลเมตร ลึก 2-7 กิโลเมตร เป็นหุบเหวเหยียดยาวผ่ากลางดาวอังคารบริเวณ เส้นศูนย์สูตร
     บรรยากาศบนดาวอังคาร มีบรรยากาศที่เบาบางมากใช้หายใจไม่ได้ ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ 95% ไนโตรเจน 2.7% อาร์กอน 1.6% ออกซิเจนและไอน้ำ 0.7% บรรยากาศของดาวอังคารแปรปรวนมากกระแสลมแรง และทำให้เกิดฝุ่นคลุ้งไปทั่วทั้งดาวอังคารนานหลายเดือน ซึ่งบางครั้งสามารถมองเห็นเป็นแถบมืดครอบคลุม ดาวอังคารได้จากโลก
     อุณหภูมิของดาวอังคาร อยู่ระหว่าง +25 องศาเซลเซียสในเวลากลางวัน ถึง -120 องศาเซลเซียสในเวลากลางคืน
     บริวารของดาวอังคาร มีอยู่ 2 ดวงเป็นดาวขนาดเล็ก นักวิทยาศาสตร์คิดว่าคงเป็นสะเก็ดดาวเคราะห์น้อย ที่ถูกสนามแรงโน้มถ่วงของดาวอังคารจับไว้

ยานอวกาศที่ไปสำรวจดาวอังคาร มีหลายลำคือ 
     1. มาริเนอร์ 4
     2. มาริเนอร์ 9
     3. มาร์ส 3
     4. ไวกิ้ง 1 และ 2
     5. มาร์สพาทไฟเดอร์


มาร์สพาทไฟเดอร์

หมายเหตุ:
Eccentricity เป็นค่าคงทีของวงโคจร ที่บอกว่าวงโคจรนั้นรีมากหรือน้อย หาได้จากระยะห่างของจุด โฟกัสทั้งสอง หารด้วย ความยาวของแกนหลัก ซึ่งวงกลมจะมีค่า Ecc=0 และพาลาโบล่าจะมีค่า Ecc=1 Inclination มุมเอียงที่ระนาบการโคจรของดาวเคราะห์หรือดาวหาง ทำกับระนานอิคลิปติค มีหน่วยเป็น องศา

บริวารของดาวอังคาร
ดาวบริวารของดาวอังคาร 2 ดวงคือ โฟบอส กับ ดีมอส





Phobos moon (large).jpg

โฟบอส
(Phobos)   

      Deimos-viking1.jpg
   ไดมอส
(Deimos) 


มีลักษณะบิดเบี้ยว ไม่เป็นรูปทรงกลม